secularparadise

16/08/2009

Malaysia’s chameleon

Filed under: State — Tags: — secularparadise @ 4:43 AM

ข่าวนี้ Malaysia’s chameleon

บทความนี้ตั้งคำถามกับบทบาทของ Anwar Ibrahim ในการเข้าไปช่วย พรรค PAS พรรคอิสลามแบบจารีตในเขตภาคเหนือ ของมาเลเซีย และหลายครั้งที่อันวาร์มีแนวโน้มจะให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับความคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจทีแตกต่างกันออกไป กับผู้ฟังหลายกลุ่ม เช่น การไม่เอานโยบายเศรษฐกิจใหม่ หรือ NEP (New Economic Policy) เพื่อเป็นการเอาใจกลุ่มคนจีนและคนอินเดียที่ยากจน ซึ่งแน่นอนว่าใช้ไม่ได้ผลกับกับชาวมาเลย์ เพราะคนกลุ่มนี้ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายเศรษฐกิจตัวนี้ บทความนี้เปรียบเทียบอันวาร์ที่เป็นกิ้งก่าที่พร้อมจะเปลี่ยนสี ได้ตลอดเวลา

My comment

ถ้าดูจากอันวาร์สมัยเป็นนักศึกษาที่ต่อสู้กับอำนาจรัฐบาล เปลี่ยนความคิดตนเองไปเข้ารัฐบาล จนกลายเป็นหมายเลขสองของประเทศมาเลเซีย จนขัดแย้งกับมหาเธร์ ถูกตัดสินจำคุกในข้อหาลักร่วมเพศ และคอรัปชั่น ต่อมาหันมาต่อสู้กับ UMNO คงต้องยอมรับว่าอันวาร์มีลักษณะแบบนี้จริงๆ

ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างอันวาร์กับกลุ่มคนที่น่าสงสัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวของอันวาร์กับกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงในอินโดนีเซีย หรือแม้กระทั่งกลุ่มประชาสังคมของอิสลามอนุรักษ์นิยมในมาเลเซีย ที่อันวาร์ให้ความสำคัญกับกลุ่มเหล่านี้ค่อนข้างมาก ก็ทำให้คนจำนวนมากตั้งข้อสงสัยในหลายๆเรื่อง

ผมคิดว่าบทความนี้ตั้งคำถามกับการเล่นการเมืองแบบกิ้งก่า ได้ดี แต่จนถึงตอนนี้อะไรคือนโยบายของอันวาร์ผมว่าเถียงได้เยอะ จริงๆ แล้วอันวาร์มีโอกาสทางการเมืองอีกครั้ง เพราะปัจจัย สอง อย่าง คือ ข้อแรก การเติบโตของสื่อที่เป็นอิสระจากรัฐบาล โดยเฉพาะสื่ออินเตอร์เน็ต ข้อสอง ความไม่พอใจของชาวอินเดียและชาวจีนจำนวนมากต่อสภาวะทางการเมืองและเศรษฐกิจของมาเลเซีย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อันวาร์ใช้ในการต่อสู้กับพรรค UMNO ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล

แต่ตอนนี้ การแพร่กระจายของสื่อินเตอร์เน็ตในมาเลซียที่ส่งผลต่อการลดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (digital divide) จะกลับมาตรวจสอบอันวาร์อีกครั้ง เพราะหลังๆ อันวาร์ก็จะใช้ยุทธศาสตร์ข่มขู่รัฐบาลว่าถ้าตัดสินว่าตัวเขาเองเป็นพวกรักร่วมเพศ จะส่งผลเสียต่อรัฐบาลมาเลเซีย ทำให้อันวาร์เองก็ใช้วิธีการโจมตี เรื่องทำนองนี้มากกว่าการ ถกเถียงในเชิงนโยบาย ซึ่งวิธีการแบบนี้จะใช้ได้ดีสำหรับการเมืองในระดับของการประท้วงบนท้องถนน แต่ถ้าในระดับของการเมืองแบบรัฐสภา ประเด็นในลักษณะนี้ไม่น่าจะใช้ได้นาน

ส่วนตัวผมคิดว่าถ้า UMNO มีการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ ที่ทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น กว่ายุคนโยบายเศรษฐกิจใหม่ และลดการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ คงไม่ง่ายที่ อันวาร์จะเอาชนะ UMNO และกลายเป็นพรรครัฐบาล

ดูเหมือนว่าสื่ออินเตอร์เน็ตที่อันวาร์เคยใช้ในการต่อสู้กับรัฐบาล จะกลายมาเป็นสิ่งที่ทำให้อันวาร์อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากซะเอง

15/08/2009

Opera 10 beta 3 ออกแล้ว

Filed under: Uncategorized — Tags: — secularparadise @ 2:20 AM

วันที่ 13 สิงหาคม ที่ผ่านมา Opera Software ปล่อย beta ตัวที่ 3 เพิ่มความสามารถเกี่ยวกับแท็บเข้ามา เท่าที่ลองใช้ดู คิดว่าแครชน้อยลงกว่า beta 2 เยอะ ดูรายละเอียดทีี Opera Press Releases หรือ Download

เพิ่มเติมหลังจากการทดลองใช้ 1 วัน Opera Turbo ดีขึ้นแต่ยังแครชอยู่

14/08/2009

ศาลพม่าสั่งกักบริเวณ ออง ซาน ซู จี เพิ่ม อีก 18 เดือน

Filed under: Uncategorized — secularparadise @ 10:20 AM

หลังจากเลื่อนการตัดสิน มาหลายครั้งในที่สุดศาลพม่าได้ตัดสิน ให้ ออง ซาน ซู จี ต้อง ถูกกักบริเวณอยู่ในเขตบ้านพักเป็นเวลาอย่างน้อย 18 เดือน และส่งผลให้ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2010 พรรค National League for Democracy (NLD) ขาด ออง ซาน ซู จี ในฐานะของแกนนำพรรคที่เป็นอิสระอย่างที่เคยวางแผนไว้ ปัญหาสำคัญ ที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ คือสถานะและบทบาทของอาเซียนในเรื่องนี้ รวมถึงโครงสร้างและกลไกที่ดูแลประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ที่ได้มีการลงนามในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียน ที่ภูเก็ต เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ในการจัดตั้ง สิ่งที่เรียกว่า ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR) ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการรองรับหลักการโดยผู้นำของประเทศสมาชิก ซึ่งวางแผนเอาไว้ว่าจะมีการแต่งตั้งตัวแทนรวมถึงคณะกรรมการจากชาติต่างๆ ในการประชุม ASEAN summit ในเดือนตุลาคมที่จังหวัดภูเก็ต ปัญหาของรัฐบาลทหารพม่าอาจจะเป็นบททดสอบที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญหาสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงบทบาทของอาเซียนที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นเพียงงานเลี้ยงประจำปีของผู้นำประเทศต่างๆ ในการสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองบนเวทีการเมืองระดับภูมิภาค ดู ข่าวที่เกี่ยวข้องกับออง ซาน ซู จี ได้ที่นี่ นี่ ี่ และนี่ ข้อมูลเกี่ยวกับ AICHR ดูที่นี่ และที่นี่ ปล. นี่ยังไม่นับปัญหาที่จีนยืนยันจะไม่กดดันพม่า อาเซียน ยังจะเร่ง สร้าง ASEAN + 1 หรือเปล่า ในขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศสังคมนิยมในอาเซียน เช่น เวียดนามเองก็มีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ไม่ยอมรับหลักการของสหประชาชาติในการแทรกแซงกิจกรรมภายในของพม่า

13/08/2009

ไต้หวันเร่งทำ FTA กับจีน

Filed under: Uncategorized — Tags: , , — secularparadise @ 3:55 PM

ผลของการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ทำให้ประเทศจำนวนมากต้องการเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรีกับจีน รัฐบาลได้หวันชุดปัจจุบัน ที่นำโดยนาย Ma Ying-jeou ประธานาธิบดีจากพรรค Kuomintang (KMT) เร่งการทำ FTA เนื่องจากจีนกลายเป็นตลาดที่สำคัญในอนาคต รวมไปถึงการเกิดของ ASEAN+1 (ASEAN + จีน) ที่อาจจะทำให้ ไต้หวันต้องสูญเสียตลาดขนาดใหญ่ไปให้กับจีน รวมไปถึง ASEAN+3 ที่จะรวมญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เข้ามาเป็นในระบบเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจะทำให้ไต้หวันเสียเปรียบมากขึ้น ปัญหาก็คือ ความพยายามในการทำ FTA ของไต้หวัน ส่งผลให้ความไม่พอใจทางการเมือง จากกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับเสรีภาพของไต้หวัน

ข่าวจาก economist

My comment

ผมคิดว่าไต้หวันจะต้องเสียเปรียบค่อนข้างมาก เมื่อ ASEAN+1 และ ASEAN+3 กลายเป็นความจริง เพราะสถานะของไต้หวันบนเวทีการเมืองโลก มีเพียง 23 ประเทศ ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน พูดง่าย คือ ไต้หวันไม่ได้มีสถานะของความเป็นรัฐ (statehood) แม้กระทั่งประเทศมหาอำนาจที่ต้องการถ่วงดุลอำนาจกับจีน อย่างอินเดียหรือสหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้ยอมรับไต้หวันอย่างเป็นทางการ ในขณะเดียวกันความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรประเภทอาหารและพลังงาน ทำให้จีนมีความจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียน เพื่อเป็นแหล่งสำรองสินค้าทั้งสองประเภท และเส้นทางส่งออกและนำสินค้า ดูจากรายงานเกี่ยวกับเรื่องความต้องการน้ำมันของจีน ที่จัดทำโดย International Crisis Group การเข้าไปมีบทบาทในพม่าของจีน น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องต่อความต้องการทางเศรษฐกิจบางอย่างของจีน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการพัฒนาเขตที่อยู่เข้าไปในแผ่นดินที่จะเชื่อมต่อกับมหาสมุทรอินเดีย จนทำให้อิทธิพลของจีนในพม่ามีอยู่ในระดับสูง

แต่ผลของการตัดสินยืดอายุการกักบริเวณ ออง ซาน ซู จี ในวันนี้ อาจจะทำให้อาเซียน มีปัญหามากขึ้น เพราะประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญกับพม่า และยังดำรงตำแหน่งเลขานุการปัจจุบันแบบดูไม่ค่อยเป็นกลางเท่าไหร่ เพราะผลประโยชน์ระหว่างพม่ากับไทย ถ้าใครตามข่าวเรื่องอาเซียนกับพม่า เคยมีทูตของสหภาพยุโรปต้องการเจรจาปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับเรื่องของ ออง ซาน ซู จี ได้ขอพบรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา แทนที่จะเข้าพบสุรินทร์ เลขานุการอาเซียน

12/08/2009

Rethinking the Paternalist Paradigm in Japanese Industrial Management ของ William Tsutsui

Filed under: Book and Article, Business, History, open access — secularparadise @ 2:38 PM

ครั้งก่อนได้เขียนเกี่ยวกับบทความรางวัล Newcomen ประจำปี 1995 ครั้งนี้เป็น ของปี 1997 ชื่อ Rethinking the Paternalist Paradigm in Japanese Industrial Management ของ William Tsutsui

บทความนี้ ตั้งคำถามกับการทำความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรอุตสาหกรรมกับแรงงานในญี่ปุ่น ซึ่งเคยได้รับการอธิบายว่า แนวทางเรื่องแรงงานสัมพันธ์ (labour relations) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่ามีฐานมาจาก ระบบความสัมพันธ์แบบครอบครัวในญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิดระบบสวัสดิการและการจ้างงานในแบบญี่ปุ่น ในด้านของคนงานปัจจัยทางวัฒนธรรมส่งผลให้เกิดความซื่อสัตย์และวัฒนธรรมองค์กรของญี่ปุ่น ในขณะที่ในอเมริกาและยุโรป แนวคิดเรื่อง scientific management ของ Frederick Winslow Taylor เจ้าของงานเขียนเรื่อง Principles of Scientific Management หรือรู้จักกันในชื่อว่า Taylorism ผู้เขียน บทความชิ้นนี้ชี้ให้เห็นถึง ลักษณะทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่สามารถผสมผสานกับแนวคิดแบบ Taylorism จนกลายเป็นแนวคิดการจัดการแบบตะวันตกที่แตกตัวแบบญี่ปุ่น นอกจากการนำความรู้ทางการจัดการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ญี่ปุ่นก็มีการสร้างผู้เชี่ยวชาญและสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสมัยใหม่ เหมือนกับที่เกิดขึ้นในยุโรป

My comment

สาระสำคัญของหนังสือ Principles of Scientific Management คือ ขยายฐานความรู้เดิมที่เน้นเรื่องการแบ่งงานกันทำและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (division of labour and specialization) มาให้ความสำคัญกับการสร้างมาตรฐานในการทำงาน เช่นการกำหนดขนาดของอุปกรณ์ การกำหนดระยะเวลาในการทำงานแต่ละอย่าง และการฝึกฝนในงานหนึ่งๆ จนเกิดความชำนาญ โดยแนวคิด Taylorism สรุปสั้นได้ในลักษณะนี้

Science, not rule of thumb.
Harmony, not discord.
Cooperation, not individualism.
Maximum output, in place of restricted output.

แนวคิดนี้มักจะถูกโจมตี ว่าทำลายคุณค่าของมนุษย์ (de-humanization) ทำให้มนุษย์เป็นเพียงเครื่องจักร แต่ถ้าให้ลองพิจารณางานเขียนชิ้นนี้ดูให้ดี จะพบว่า งานเขียนชิ้นนี้เป็นรากฐานสำคัญของกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ที่ผสมผสานการใช้งานเครื่องจักรเข้ากับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ส่งผลให้เยอรมันและสหรัฐอเมริกา กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ขึ้นมาแทนที่อังกฤษ และความสำเร็จของประเทศทั้งสองจะกลายเป็นคู่ขัดแย้งสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2

นอกเหนือไปจากผลต่อพัฒนาการของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 และพัฒนาการของทุนนิยมโลก ทางด้านคนงาน เรากลับพบว่าคนงานในประเทศเหล่านี้กลับมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะว่าแนวความคิด Taylorism ให้ความสำคัญกับสวัสดิการพื้นฐานซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการทำงาน เช่น ที่อยู่อาศัยและสุขอนามัย ในขณะเดียวกัน การถูกฝึกให้ทำงานเฉพาะด้านอย่างเข้มข้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในเวลาเท่าเดิม นำไปสู่การเพิ่มค่าจ้างให้คนงาน

Older Posts »

Create a free website or blog at WordPress.com.